About us

ชื่อหน่วยงาน

ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โทรศัพท​์ 02-579-1120 ภายใน 1346-7

โทรสาร 02-579-1120

E-mail Address: kuansc@ku.ac.th

สถานที่ตั้ง

ชั้น 3 ตึกจรัด สุนทรสิงห์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ประวัติความเป็นมา

         ภาควิชาสัตวบาลเป็นภาควิชาที่ถือกำเนิดมาพร้อมกับการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2486 โดยแรกเริ่มเป็นแผนกหนึ่งในคณะกสิกรรมและสัตวบาล ซึ่งในสมัยนั้นแบ่งออกเป็นภาควิชาสัตวบาล (Department of Animal Husbandry) ทำการสอนและฝึกอบรมนิสิตเกี่ยวกับการผลิตสุกร สัตว์ใหญ่ ได้แก่ โค กระบือ และภาควิชาสัตว์ปีก (Department of Poultry Science) ทำการสอนและฝึกอบรมนิสิตเกี่ยวกับการผลิตสัตว์ปีก ทั้งสองภาควิชามีหลักสูตรการเรียน 5 ปี โดยที่นิสิตทุกคนต้องทำวิทยานิพนธ์ และผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญากสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต (กส.บ.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 คณะกสิกรรมและสัตวบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะเกษตร มีการเรียนการสอนสำหรับนิสิตปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ไม่มีวิทยานิพนธ์ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) และได้รวมภาควิชาสัตวบาลและภาควิชาสัตว์ปีกเป็นภาควิชาเดียวกันเรียกว่า ภาควิชาสัตวบาล (Department of Animal Science) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ภายหลังการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2522 ภาควิชาฯ จึงได้แบ่งการบริหารงานและการเรียนการสอนอยู่ในทั้ง 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตบางเขน (กรุงเทพฯ) และวิทยาเขตกำแพงแสน (นครปฐม) ในปี พ.ศ. 2547 ภาควิชาสัตวบาลของทั้ง 2 วิทยาเขต ได้แยกอิสระป็น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร บางเขน และ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน จนถึงปัจจุบัน

ปณิธาน

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นเลิศทางสัตวศาสตร์เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

วิสัยทัศน์

เป็นภาควิชาที่มีความเป็นเลิศด้านการสอน วิจัยทางสัตวศาสตร์ มีบทบาทร่วมในการเป็นผู้ชี้นำและแก้ไขปัญหาการผลิตปศุสัตว์ของประเทศ

วัตถุประสงค์

1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ พร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านสัตวศาสตร์ อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศในภาพรวม

3. ให้การบริการทางวิชาการ และเป็นศูนย์กลางระบบสารสนเทศด้านการผลิตปศุสัตว์

4. ส่งเสริม ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย